
ปรัชญา
เชี่ยวชาญศาสตร์บริหาร วิชาการทันสมัย บูรณาการงานวิจัย พัฒนาท้องถิ่นไทยสู่สากล
วิสัยทัศน์ (Vision)
เป็นผู้นำด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการมีความคิดสร้างสรรค์ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล
พันธกิจ (Mission)
- ผลิตบัณฑิตด้านบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ ที่มีทักษะวิชาชีพพร้อมเข้าสู่ภาคธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ
- ส่งเสริมการบูรณาการการจัดการเรียนรู้กับการวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัย นวัตกรรมและงานสร้างสรรค์อย่างมีคุณภาพได้มาตรฐาน
- ให้บริการวิชาการ เพื่อพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
- อุนรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยสู่สากล
- บริหารจัดการด้วยนวัตกรรม โดยยึดหลักธรรมมาภิบาล
คุณลักษณะบัณฑิตของคณะวิทยาการจัดการ
เพื่อให้การผลิตบัณฑิตของคณะวิทยาการจัดการ บรรลุวัตถุประสงค์ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และสอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ คณะวิทยาการจัดการจึงได้กำหนดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ไว้ ดังนี้
- มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ มีการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ ทักษะการเป็นผู้ประกอบการและทักษะวิศวกรสังคม
- มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรในวิชาชีพ
- มีจิตสาธารณะในการรับผิดชอบต่อสังคมและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
- มีความสามารถในการสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
- มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมืออาชีพ
- มีความเป็นไทยและสามารถปรับใช้ท่ามกลางความท้าทายในศตวรรษที่ 11
ตราสัญลักษณ์
ความสำเร็จประดุจเพชรแห่งปัญญา

สีประจำคณะ : สีฟ้า

ประวัติความเป็นมาของคณะวิทยาการจัดการ
ในปี พ.ศ. 2527 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 2) มีผลให้วิทยาลัยครูซึ่งเป็นสถาบันที่ผลิตบุคลากรทางการศึกษาเพียงอย่างเดียว สามารถผลิตบัณฑิตได้อีก 2 สาขา คือ วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) และศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) ในเวลาต่อมามีสถาบันที่ผลิตครูมากขึ้น ทั้งในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และวิทยาลัยครูเอง ทำให้ผลิตครูเกินความต้องการ บัณฑิตเกิดการว่างงานจำนวนมาก ดังนั้นวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จึงได้จัดตั้ง คณะวิทยาการจัดการขึ้นในปี พ.ศ. 2527 (27 พฤศจิกายน 2527) ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนและผลิตบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร์เพื่อสนองตอบความต้องการของสังคม ในขณะนั้น
คณะวิทยาการจัดการ เดิมเรียก คณะวิชาวิทยาการจัดการ มีสำนักงานตั้งอยู่ที่อาคาร 3 ชั้น 2 ตรงข้างหอประชุมเก่า (โรงอาหาร) ในครั้งแรกที่เปิดสอนยังไม่มีการแบ่งส่วนราชการภายใน หลังจากนั้นอีก 1 ปี จึงได้มีการแบ่งส่วนราชการภายในเป็น 5 ภาควิชา คือ
- ภาควิชาการเงินและบัญชี
- ภาควิชาการตลาด
- ภาควิชาการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์
- ภาควิชาบริหารธุรกิจและสหกรณ์
- ภาควิชาเศรษฐศาสตร์
ในปี พ.ศ. 2534 คณะวิทยาการจัดการ มีนักศึกษาเพิ่มเป็นจำนวนมาก จึงได้ย้ายสำนักงานมายังหอสมุดเก่า ซึ่งว่างจากการใช้งานมาระยะหนึ่ง ต่อมาได้มีการปรับปรุงซ่อมแซมตัวอาคารสถานที่ใหม่เรียกว่าอาคาร 5 ซึ่งเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น เป็นสำนักงานคณะห้องเรียน ห้องปฏิบัติการและห้องพักอาจารย์
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” (คนของพระราชา) ใช้แทนชื่อ “วิทยาลัยครู” ทั่วประเทศ
8 มีนาคม พ.ศ. 2538 ทรงพระราชทาน “ตราพระราชลัญจกร” ให้เป็นตราสัญลักษณ์ของสถาบันราชภัฏ ทั่วประเทศ
25 มกราคม พ.ศ. 2538 ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538″ ทำให้ คณะวิชา เปลี่ยนเป็น คณะ ตำแหน่งหัวหน้าคณะวิชาเปลี่ยนเป็น คณบดี พร้อมทั้งเปลี่ยนครุยวิทยฐานะของบัณฑิตใหม่ เป็นครั้งแรกในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปี พ.ศ. 2539 โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะ ซึ่งปัจจุบัน เรียกว่า คณบดี เรียงลำดับดังนี้
- ดร.สุรพล ธีรรัตนพันธ์ (24 พฤศจิกายน 2527 – 16 เมษายน 2530)
- รองศาสตราจารย์พิบูล ทีปะปาล (17 เมษายน 2530 – 17 เมษายน 2534)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์วารี ศรีมาโนชน์ (18 เมษายน 2534 – 10 พฤศจิกายน 2536)
- ดร.ทวิช บุญธิรัศมี (11 พฤศจิกายน 2536 – 15 มิถุนายน 2538)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมปอง คงชัย (16 มิถุนายน 2538 – 30 กันยายน 2539)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสนีย์ สุวิทวัส (1 ตุลาคม 2539 – 30 กันยายน 2544)
- รองศาสตราจารย์เกริก วยัคฆานนท์ (1 ตุลาคม 2544 – 31 ตุลาคม 2551)
- รองศาสตราจารย์รวงพร อิ่มผล (1 พฤศจิกายน 2551 – 30 กันยายน 2554)
- ดร.ไพฑูรย์ มากสุข (1 ตุลาคม 2554 – 30 กันยายน 2562)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณุศณี มีแก้วกุญชร (1 ตุลาคม 2562 – ปัจจุบัน)
ในปี พ.ศ. 2540 (มิถุนายน) จนถึงเดือนเมษายน 2545 คณะวิทยาการจัดการได้ย้ายมายังอาคาร 100 ปี ศรีสุริยวงศ์ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่สถาบันมีอายุครบ 100 ปี ในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นอาคารสูงที่สุดอาคารแรกของกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น (สูง 15 ชั้น)
ปี พ.ศ. 2541 ได้เกิดแนวความคิดที่จะประสานภารกิจการทำงานมากกว่าที่จะแยกกัน เป็นภาควิชา คณะวิทยาการจัดการจึงได้จัดองคาพยพใหม่และบริหารโดยคณะบุคคลโดยแบ่งออกเป็น 5 โปรแกรมวิชา คือ
- โปรแกรมวิชาการจัดการทั่วไป
- โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์
- โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ
- โปรแกรมวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
- โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ในปีการศึกษา 2543 คณะวิทยาการจัดการ สามารถจัดการเรียนการสอนและประสาทปริญญาตรี ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจหรือบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) ได้ แตกต่างจากเดิมที่ผู้เรียนจบในด้านบริหารธุรกิจและการจัดการ ระดับปริญญาตรี จะได้รับการประสาทปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิตเท่านั้น
เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 คณะวิทยาการจัดการได้ย้ายมายังที่ตั้งปัจจุบัน ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ (อาคาร 7) เลขที่ 1061 ถนน อิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กทม.10600 โทร. 02-473-7000 ต่อ 4000 โทรสาร 02472 5715 จากจุดเริ่มต้นมาจนถึงปัจจุบัน คณะวิทยาการจัดการได้ก้าวมาสู่ความโอ่อ่า สง่างาม ทันสมัย มีความพร้อมด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทุก ๆ ด้าน
ปี พ.ศ. 2542 ได้มีการตรากฎหมายที่เป็นแม่บทในการจัดการศึกษาของประเทศขึ้น เรียกว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ต้องเข้ามารวมอยู่ในสังกัดเดียวกัน และมีฐานะเป็นนิติบุคคล สถาบันราชภัฏทั่วประเทศจึงเปลี่ยนสถานภาพ เป็น “มหาวิทยาลัย” สถาบัณราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจึงเปลี่ยนสถาภาพเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2547 โดยมีการแบ่งส่วนราชการออกเป็น 9 หน่วยงาน 1 ใน 9 คือ คณะวิทยาการจัดการ ปี พ.ศ. 2547 คณะวิทยาการจัดการได้แบ่งโครงสร้างการบริหารดังนี้
- สำนักงานคณบดี ตั้งอยู่ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 5
- โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ เปิดสอน 5 แขนงวิชา
– แขนงวิชาการโฆษณา
– แขนงวิชาการประชาสัมพันธ์
– แขนงวิชาวารสารศาสตร์
– แขนงวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
- โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ เปิดสอน 2 แขนงวิชา
– แขนงวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
– แขนงวิชาการตลาด
- โปรแกรมวิชาการบัญชีและการเงิน
- โปรแกรมวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
- โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ปี พ.ศ. 2552 สำนักงานคณะวิทยาการจัดการ ได้ย้ายมาตั้งอยู่อาคารเฉลิมพระเกียรติ (อาคาร 7) ชั้น 1 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพฯ และคณะวิทยาการจัดการได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรเก่า ซึ่งใช้หลักสูตรกลางของสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2543 และพัฒนาหลักสูตรใหม่ เพื่อให้หลักสูตรมีความทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ตลอดจนสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีและปริญญาโทของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 โดยมีรายละเอียดของหลักสูตรที่เปิดสอนในปี พ.ศ. 2552 ทั้งหมดดังนี้
ระดับปริญโท
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
หลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต
ระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี)
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการธุรกิจ
- หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
- หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง
- หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์การ
- หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว
ในปี พ.ศ. 2560 คณะวิทยาการจัดการได้พัฒนาหลักสูตรใหม่และปรับปรุงหลักสูตรทั้งหมดตามวงรอบของการปรับหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ตลาดแรงงานในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยมีการเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับปริญญาตรีจำนวน 13 สาขาวิชา รายละเอียดดังนี้
ระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี)
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการธุรกิจ
- หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
- หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง
- หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์การ
- หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน
- หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว
- หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 คณะวิทยาการจัดการได้พัฒนาหลักสูตรใหม่จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) และเริ่มเปิดรับนักศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2562
ในปี พ.ศ. 2564 คณะวิทยาการจัดการได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรีของคณะวิทยาการจัดการทั้งหมดตามวงรอบและพัฒนาหลักสูตรใหม่คือระดับปริญญาเอกจำนวน 1 หลักสูตร ซึ่งจะเริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงและหลักสูตรใหม่ในปีการศึกษา 2565 โดยมีหลักสูตรทั้งหมดดังนี้
ระดับปริญเอก
หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการสื่อสาร
ระดับปริญโท
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
ระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี)
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจและทรัพยากรมนุษย์
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาดดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัล
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ
- หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมทางเศรษฐกิจ การเงินและการลงทุน
- หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตลาดและธุรกิจบันเทิง
- หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัลคอนเทนต์
- หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบรอดคาสติงและสื่อสตรีมมิง
- หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาพยนตร์
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยว
- หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
ปัจจุบันการดำเนินการของคณะจัดในรูปแบบของคณะกรรมการ โดยมีคณะกรรมการชุดต่างดังนี้
- คณะกรรมการประจำคณะวิทยาการจัดการ ซึ่งประกอบไปด้วย
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณุศณี มีแก้วกุญชร ประธาน
- รองศาสตราจารย์ ดร.ธัชพงศ์ เศรษฐบุตร รองประธาน
- รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช อภิบุญโยภาส กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
- รองศาสตราจารย์ ดร.ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
- ดร.สมยศ ติรนวัฒนานันท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทิรา มาศมาลัย กรรมการ
- อาจารย์ ดร.ชัยวิชญ์ ม่วงหมี กรรมการ
- อาจารย์ณัฐพนธ์ เกษสาคร กรรมการ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรรณลักษณ์ อินทรจันทร์ กรรมการ
- นางอัชรี ภักดีสุวรรณ์ กรรมการและเลขานุการ
- คณะกรรมการบริหารคณะ รับผิดชอบในการบริหารงานทั่วไป ประกอบด้วย
- อาจารย์มรกต ภู่ทอง ผู้ช่วยอธิการบดี ที่ปรึกษา
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณุศณี มีแก้วกุญชร คณบดี ประธาน
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภัทิรา มาศมาลัย รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา กรรมการ
- รองศาสตราจารย์ ดร.ธัชพงศ์ เศรษฐบุตร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ กรรมการ
- อาจารย์ ดร.ชัยวิชญ์ ม่วงหมี รองคณบดีฝ่ายวิจัยอาคารสถานที่ กรรมการ
และความยั่งยืน - อาจารย์ไซนิล สมบูรณ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและ กรรมการ
สื่อสารองค์กร - อาจารย์ณัฐพนธ์ เกษสาคร รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพและ กรรมการ
ระบบสารสนเทศ - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อุกฤต คูหพันธ์ ผู้ช่วยคณบดีและประธานสาขาวิชา กรรมการ
การบัญชี - อาจารย์นิวัฒน์ ประสิทธิวรวิทย์ ผู้ช่วยคณบดี กรรมการ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นเรศ นิภากรพันธ์ ผู้ช่วยคณบดีและประธานสาขาวิชา กรรมการ
สาขาวิชานวัตกรรมทางเศรษฐกิจ
การเงินและการลงทุน - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัฏฐ์ เดชะปัญญา ผู้ช่วยคณบดี กรรมการ
- อาจารย์รัตนา บุญอ่วม ประธานสาขาวิชาการสื่อสาร กรรมการ
ดิจิทัลคอนเทนต์ - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรียาภรณ์ สืบสวัสดิ์ ประธานสาขาวิชาบรอดคาสติงและ กรรมการ
สื่อสตรีมมิง - อาจารย์ ดร.พิศิษฐ์ ชำนาญนา ประธานสาขาวิชาการตลาด กรรมการ
- อาจารย์วรศิริ ผลเจริญ ประธานสาขาวิชานวัตกรรม กรรมการ
การท่องเที่ยว - อาจารย์รัชนก ปัญญาสุพัฒน์ ประธานสาขาวิชาการเป็น กรรมการ
ผู้ประกอบการ - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิมพ์พิไล ไทพิทักษ์ ประธานสาขาวิชาการตลาดและ กรรมการ
ธุรกิจบันเทิง - อาจารย์เดชา พนาวรกุล ประธานสาขาวิชาการจัดการธุรกิจ กรรมการ
และทรัพยากรมนุษย์ - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ขวัญชัย ช้างเกิด ประธานสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ กรรมการ
และห่วงโซ่อุปทาน - อาจารย์อารยา แสงมหาชัย ประธานสาขาวิชาธรุกิจดิจิทัล กรรมการ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรรณลักษณ์ อินทรจันทร์ ประธานสาขาวิชาภาพยนตร์ กรรมการ
- อาจารย์ธนัช กรศุภกิจ ประธานสาขาวิชาการจัดการธุรกิจ กรรมการ
ระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) - นางอัชรี ภัคดีสุวรรณ์ หัวหน้าสำนักงาน กรรมการและเลขานุการ
- นางสาวบุญถึง สัมมาโภชน์ เจ้าหน้าที่
- นางสาวพิมพร พานทอง เจ้าหน้าที่
- นายร่มไทร ฉ่ำคล้าม เจ้าหน้าที่
- นายวุฒิวัฒน์ เดชเรือง เจ้าหน้าที