ประวัติคณะ

ประวัติคณะวิทยาการจัดการ


ในปี พ.ศ. 2527  ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู  พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 2)  มีผลให้วิทยาลัยครูซึ่งเป็นสถาบันที่ผลิตบุคลากรทางการศึกษาเพียงอย่างเดียว  สามารถผลิตบัณฑิตได้อีก 2  สาขา คือ  วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)  และศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)  ในเวลาต่อมามีสถาบันที่ผลิตครูมากขึ้น  ทั้งในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ  และวิทยาลัยครูเอง      ทำให้ผลิตครูเกินความต้องการ  บัณฑิตเกิดการว่างงานจำนวนมาก  ดังนั้นวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  จึงได้จัดตั้ง    คณะวิทยาการจัดการขึ้นในปี พ.ศ. 2527 (27  พฤศจิกายน  2527)  ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนและผลิตบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร์เพื่อสนองตอบความต้องการของสังคม ในขณะนั้น

คณะวิทยาการจัดการ เดิมเรียก คณะวิชาวิทยาการจัดการ มีสำนักงานตั้งอยู่ที่อาคาร 3   ชั้น 2  ตรงข้างหอประชุมเก่า (โรงอาหาร)  ในครั้งแรกที่เปิดสอนยังไม่มีการแบ่งส่วนราชการภายใน  หลังจากนั้นอีก  1  ปี  จึงได้มีการแบ่งส่วนราชการภายในเป็น  5  ภาควิชา คือ

  1. 1. ภาควิชาการเงินและบัญชี
  2. 2. ภาควิชาการตลาด
  3. 3. ภาควิชาการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์
  4. 4. ภาควิชาบริหารธุรกิจและสหกรณ์
  5. 5. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์

ในปี พ.ศ.  2534  คณะวิทยาการจัดการ มีนักศึกษาเพิ่มเป็นจำนวนมาก  จึงได้ย้ายสำนักงานมายังหอสมุดเก่าซึ่งว่างจากการใช้งานมาระยะหนึ่ง  ต่อมาได้มีการปรับปรุงซ่อมแซมตัวอาคารสถานที่ใหม่ เรียกว่าอาคาร 5 ซึ่งเป็นอาคารไม้  2  ชั้น เป็นสำนักงานคณะ ห้องเรียน   ห้องปฏิบัติการและห้องพักอาจารย์

14  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2535  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ได้พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ"                    (คนของพระราชา)  ใช้แทนชื่อ “วิทยาลัยครู" ทั่วประเทศ

8  มีนาคม  พ.ศ.  2538   ทรงพระราชทาน “ตราพระราชลัญจกร"  ให้เป็นตราสัญลักษณ์ของสถาบันราชภัฏ     ทั่วประเทศ

25  มกราคม  พ.ศ. 2538  ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ  พ.ศ.  2538"   ทำให้ คณะวิชา  เปลี่ยนเป็น คณะ  ตำแหน่งหัวหน้าคณะวิชาเปลี่ยนเป็น  คณบดี   พร้อมทั้งเปลี่ยนครุยวิทยฐานะของบัณฑิตใหม่ เป็นครั้งแรกในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร  ปี พ.ศ. 2539   โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะ  ซึ่งปัจจุบัน เรียกว่า คณบดี  เรียงลำดับดังนี้

  1. 1. ดร.สุรพล                              ธีรรัตนพันธ์         (24 พฤศจิกายน 2527    –   16 เมษายน 2530)
  2. 2. รองศาสตราจารย์พิบูล             ทีปะปาล            (17 เมษายน 2530         –   17 เมษายน 2534)
  3. 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วารี            ศรีมาโนชน์          (18 เมษายน 2534         –   10 พฤศจิกายน 2536)
  4. 4. ดร.ทวิช                                บุญธิรัศมี                        (11 พฤศจิกายน 2536    –   15 มิถุนายน 2538)
  5. 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมปอง       คงชัย                 (16 มิถุนายน 2538        –   30 กันยายน 2539)
  6. 6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสนีย์          สุวิทวัส              (1 ตุลาคม 2539             –   30 กันยายน  2544)
  7. 7. รองศาสตราจารย์เกริก             วยัคฆานนท์         (1 ตุลาคม 2544            –   31 ตุลาคม 2551)
  8. 8. รองศาสตราจารย์รวงพร           อิ่มผล                (1   พฤศจิกายน 2551    –    30 กันยายน 2554)
  9. 9. ดร.ไพฑูรย์                            มากสุข               (1   ตุลาคม 2554          –    30 กันยายน 2562)
  10. 10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณุศณี มีแก้วกุญชร        (1   ตุลาคม 2562          –    ปัจจุบัน)

ในปี พ.ศ. 2540 (มิถุนายน)  จนถึงเดือนเมษายน  2545  คณะวิทยาการจัดการได้ย้ายมายังอาคาร  100  ปี        ศรีสุริยวงศ์  ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่สถาบันมีอายุครบ  100  ปี   ในปี พ.ศ. 2539  ซึ่งเป็นอาคารสูงที่สุดอาคารแรกของกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น (สูง  15  ชั้น)

ปี พ.ศ.2541 ได้เกิดแนวความคิดที่จะประสานภารกิจการทำงานมากกว่าที่จะแยกกันเป็นภาควิชาคณะวิทยาการจัดการจึงได้จัดองคาพยพใหม่ และบริหารโดยคณะบุคคล  โดยแบ่งออกเป็น  5  โปรแกรมวิชา  คือ

  1. 1. โปรแกรมวิชาการจัดการทั่วไป
  2. 2. โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์
  3. 3. โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ
  4. 4. โปรแกรมวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
  5. 5. โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

เดือนมิถุนายน  พ.ศ. 2545   คณะวิทยาการจัดการได้ย้ายมายังที่ตั้งปัจจุบัน  ณ  อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ (อาคาร 7) เลขที่  1061  ถนน อิสรภาพ  แขวงหิรัญรูจี  เขตธนบุรี  กทม.10600  โทร. 02-473-7000 ต่อ 4000 โทรสาร 02472 5715 จากจุดเริ่มต้นมาจนถึงปัจจุบัน  คณะวิทยาการจัดการได้ก้าวมาสู่ความโอ่อ่า สง่างาม  ทันสมัย  มีความพร้อมด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทุก  ๆ ด้าน

ปี พ.ศ. 2547 ได้มีการตรากฎหมายที่เป็นแม่บทในการจัดการศึกษาของประเทศขึ้น  เรียกว่าพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ต้องเข้ามารวมอยู่ในสังกัดเดียวกัน และมีฐานะเป็นนิติบุคคล   สถาบันราชภัฏทั่วประเทศจึงเปลี่ยนสถานภาพเป็น “มหาวิทยาลัย" สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจึงเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ  พ.ศ.  2547                            เมื่อ วันที่ 15  มิถุนายน  พ.ศ.  2547   โดยมีการแบ่งส่วนราชการออกเป็น  9  หน่วยงาน  หน่วยงาน  1  ใน 9  คือ               คณะวิทยาการจัดการ ได้แบ่งโครงสร้างการบริหารดังนี้

ปี พ.ศ. 2547 หน่วยงานในคณะวิทยาการจัดการ แบ่งได้ ดังนี้

  1. 1. สำนักงานคณบดี ตั้งอยู่ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 5
  2. 2. โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์   เปิดสอน  5  แขนงวิชา

–   แขนงวิชาการโฆษณา

–   แขนงวิชาการประชาสัมพันธ์

–   แขนงวิชาวารสารศาสตร์

–   แขนงวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

–   แขนงวิชาภาพนิ่งและภาพยนตร์

  1. 3. โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ   เปิดสอน   2   แขนงวิชา

–   แขนงวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์

–   แขนงวิขาการตลาด

  1. 4. โปรแกรมวิชาการบัญชีและการเงิน
  2. 5. โปรแกรมวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
  3. 6. โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ต่อมาใน ปี พ.ศ.2535 มหาวิทยาลัยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานโดยมีการกระจายอำนาจการบริหารลงสู่สาขาวิชา โดยคณะวิทยาการจัดการได้พัฒนาหลักสูตรใหม่ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งหมด 11 หลักสูตร

  1. สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
  2. สาขาวิชาการตลาด
  3. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  4. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
  5. สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ
  6. สาขาวิชาการบัญชี
  7. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
  8. สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง
  9. สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์การ
  10. สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน
  11. สาขาวิชาการท่องเที่ยว

ปัจจุบัน คณะวิทยาการจัดการได้พัฒนาหลักสูตรใหม่ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของตลาดแรงงานในประเทศไทยและต่างประเทศ โดย มีหลักสูตรระดับปริญญาตรี 13 สาขาวิชา ปริญญาโท 1 หลักสูตร และปริญญาเอก 1 หลักสูตร ดังนี้

ระดับปริญญาเอก

          หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการการสื่อสาร

ระดับปริญญาโท

          หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

ระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี)

  1. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
  2. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต          สาขาวิชาการตลาด
  3. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  4. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
  5. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการธุรกิจ
  6. หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
  7. หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
  8. หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง
  9. หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์การ
  10. หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน
  11. หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย
  12. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว
  13. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)

ปัจจุบันการดำเนินการของคณะจัดในรูปแบบของคณะกรรมการ มีรายละเอียดดังนี้

  1. คณะกรรมการประจำคณะวิทยาการจัดการ ซึ่งประกอบไปด้วย
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณุศณี มีแก้วกุญชร         ประธาน
  3. รองศาสตราจารย์ ดร.ธัชพงศ์ เศรษฐบุตร           รองประธาน
  4. รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช อภิบุญโยภาส       กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
  5. รองศาสตราจารย์ ดร.ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์         กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
  6. ดร.สมยศ ติรนวัฒนานันท์     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
  7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทิรา มาศมาลัย             กรรมการ
  8. อาจารย์ ดร.ชัยวิชญ์ ม่วงหมี               กรรมการ
  9. อาจารย์ณัฐพนธ์ เกษสาคร             กรรมการ
  10. อาจารย์ ดร.ชัยวิชญ์ ม่วงหมี                กรรมการ
  11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรรณลักษณ์ อินทรจันทร์          กรรมการ
  12. นางอัชรี ภักดีสุวรรณ์         กรรมการและเลขานุการ
  13. คณะกรรมการบริหารคณะ ประกอบด้วย
    1. อาจารย์มรกต ภู่ทอง                                          ผู้ช่วยอธิการบดี                                             ที่ปรึกษา
    2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณุศณี มีแก้วกุญชร        คณบดี                                                         ประธาน
    3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทิรา มาศมาลัย                  รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา                      กรรมการ
    4. รองศาสตราจารย์ ดร.ธัชพงศ์ เศรษฐบุตร          รองคณบดีฝ่ายวิชาการ                                    กรรมการ
    5. อาจารย์ ดร.ชัยวิชญ์ ม่วงหมี                              รองคณบดีฝ่ายวิจัยอาคารสถานที่และความยั่งยืน    กรรมการ
    6. อาจารย์ไซนิล สมบูรณ์                                      รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและสื่อสารองค์กร    กรรมการ
    7. อาจารย์ณัฐพนธ์ เกษสาคร                                รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพและระบบสารสนเทศ กรรมการ
    8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุกฤต คูหพันธ์                    ผู้ช่วยคณบดี                                                  กรรมการ
    9. อาจารย์นิวัฒน์ ประสิทธิวรวิทย์                          ผู้ช่วยคณบดี                                             กรรมการ
    10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นเรศ นิภากรพันธ์         ผู้ช่วยคณบดีและประธานสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ กรรมการ
    11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฏฐ์ เดชะปัญญา         ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายภาพลักษณ์องค์กร
    12. อาจารย์รัตนา บุญอ่วม                  ประธานสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์การ     กรรมการ
    13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรียาภรณ์ สืบสวัสดิ์            ประธานสาขาวิชาการสื่อสารมวลชน                กรรมการ
    14. อาจารย์ ดร.พิศิษฐ์ ชำนาญนา           ประธานสาขาวิชาการตลาด                            กรรมการ
    15. อาจารย์สมาพร ปัญญาวรายุทธ     ประธานสาขาวิชาการบัญชี                            กรรมการ
    16. อาจารย์วรศิริ ผลเจริญ             ประธานสาขาวิชาการท่องเที่ยว                      กรรมการ
    17. อาจารย์รัชนก ปัญญาสุพัฒน์      ประธานสาขาวิชาการประกอบการธุรกิจ           กรรมการ
    18. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิมพ์พิไล ไทพิทักษ์            ประธานสาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง    กรรมการ
    19. อาจารย์เดชา พนาวรกุล           ประธานสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์    กรรมการ
    20. อาจารย์ขวัญชัย ช้างเกิด              ประธานสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์              กรรมการ
    21. อาจารย์อารยา แสงมหาชัย         ประธานสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ                 กรรมการ
    22. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรรณลักษณ์ อินทรจันทร์   ประธานสาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย      กรรมการ
    23. อาจารย์ธนัช             กรศุภกิจ             ประธานสาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ   กรรมการ

(หลักสูตรนานาชาติ)

  1. นางอัชรี            ภัคดีสุวรรณ์        หัวหน้าสำนักงาน                       กรรมการและเลขานุการ
  2. นางสาวบุญถึง สัมมาโภชน์         เจ้าหน้าที่
  3. นางสาวพิมพร   พานทอง            เจ้าหน้าที่
  4. นายสาธิต                 ศิลารักษ์             เจ้าหน้าที่

ปรัชญา

เชี่ยวชาญศาสตร์บริหาร วิชาการทันสมัย  บูรณาการงานวิจัย พัฒนาท้องถิ่นไทยสู่สากล

วิสัยทัศน์

เป็นผู้นำด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการที่มีทักษะการบริหารได้มาตรฐานสากล

พันธกิจ

  1. ผลิตบัณฑิตด้านบริหารธุรกิจ นิเทศศาสตร์ และการท่องเที่ยว ที่มีทักษะวิชาชีพพร้อมเข้าสู่ภาคธุรกิจ
  2. ส่งเสริมการวิจัย นวัตกรรม งานสร้างสรรค์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ท้องถิ่น
  3. ให้บริการทางวิชาการ เพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม
  4. อนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยสู่สากล
  5. บริหารจัดการด้วยนวัตกรรม โดยยึดหลักธรรมาภิบาล

คุณลักษณะบัณฑิต

เพื่อให้การผลิตบัณฑิตของคณะวิทยาการจัดการ   บรรลุวัตถุประสงค์ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และสอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ  คณะวิทยาการจัดการจึงได้กำหนดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ไว้  ดังนี้

  1. มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ มีการคิดวิเคราะห์  คิดสร้างสรรค์และทักษะการบริหารได้มาตรฐานสากล สามารถประกอบวิชาชีพได้อย่างมีคุณภาพ
  2. มีจิตสาธารณะในการรับผิดชอบต่อสังคมและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
  3. มีความสามารถในการสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
  4. มีความรู้และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างมืออาชีพ
  5. มีความเป็นไทยและสามารถปรับใช้ท่ามกลางความท้าทายในศตวรรษที่ ๒๑
  6. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ

ตราสัญลักษณ์

ความสำเร็จประดุจเพชรแห่งปัญญา

สีประจำคณะ : สีฟ้า

History


The Faculty of Management Science, Bansomdejchaopraya Rajabhat University(BSRU), was established on 27 November 1984. It was two months afterthe second edition of Teachers Colleges Act has been promulgated, which allowed teachers colleges in Thailand to launch Bachelor of Science (B.S.) and Bachelor of Arts (B.A.) Programs. In those times, Teacher colleges and universities produced too many graduates in Bachelor of Education (B.Ed.) and consequently Bansomdejchaopraya Teachers College found the Faculty of Management Science as an interesting educational alternative for people.

The Faculty of Management Science began to operate without optional

department in the first academic year. In the second, the faculty was devided into
five departments as below;

1. Department of Finance and Accountancy
2. Department of Marketing
3. Department of Communication and Public Relations
4. Department of Business Administration and Co-operative
5. Department of Economics

The Faculty of Management Science accepted more students and as a consequence had been moved in 1991 from the second floor of third building to the inactive library, which was renovated afterwards to be two-storey wooden building with office, classrooms, laboratories and instructors rooms. This new building was called “the fifth building”.

On 14 February 1992, H.M.King Bhumibol Adulyadej offered the name “Rajabhat Institutes (Son of a King)” in place of “Teachers College”. Bansomdejchaopraya Teachers college subsequently became “Bansomdejchaopraya
Rajabhat Institute”

On 25 January 1995, The Rajabhat Institutes Act was promulgated.

On 8 March 1995, H.M.King Bhumibol Adulyadej offered “The Royal Seal” as a “university logo” of
all Rajabhat Institute over Thailand.

From the origin to recent days, The BSRU Faculty of Management Science has transformed and developed further under the leadership of these ten Deans (in chronological order);

1. Dr. Surapol Theeraratanabhandhu        (24 November 1984 – 16 April 1987)

2. Assoc. Prof. Piboon Teepapal              (17 April 1987 – 17 April 1991)

3. Asst. Prof. Waree Srimanoch (18 April 1991 – 10 November 1993)

4. Dr. Tawit Bunthirasami (11 November 1993 – 15 June 1995)

5. Asst. Prof. Sompong Kongchai (16 June 1995 – 30 September 1996)

6. Asst. Prof. Senee Suwittawat (1 October 1996  – 30 September 2001)

7. Assoc. Prof. Krerk Wayakanon   (1 October 2001 – 31 October 2008)

8. Assoc. Prof. Ruangporn Imphol             (1 November 2008 – 30 September 2011)

9. Dr. Paitoon Marksuk (1 October 2011 – 30 September 2019)

10. Assoc. Prof. Dr. Nusanee Meekaewkunchorn (1 October 2019 – Present)


Philosophy

Be Wise, Be Nice,Be Social Developer

Vision

Faculty of Management Science aims to create graduates with management skills, professional skills and to instill proper ethics and morality into them, who subsequently take part in social development.

Mission

1. Produce graduates at the department of Human Resource Management, Marketing, Entrepreneurship, Logistics Management, Economics,Business Computer, Accountancy, International Business Management, Mass Communication, Advertising and Entertainment Business, Public Relations and Corporate Communication, Film and Digital Media and Tourism, for the sake of their community, society and nation.

2. Promote researches to create innovative knowledge and to influence local development.

3. Provide a broad range of community services.

4. Instill ethical and moral behaviour into students, in order to produce good citizens for society.

5. Preserve of thai arts and culture, which are unique identity of the nation.

Desirable characteristics of the Graduates

1. Have ability to create innovative knowledge and to influence
local development through their research work.

2. Have a co-operative skill and professional codes of ethics.

3. Be socially responsible and be a good role model for our
society.

4. Properly use of Thai language in communication.

5. Have at least another 1 foreign language skills(ASEAN language, excluded Thai)

6. Have knowledge and ability to use appropriate technology.

7.  Perform effectively professional skills, matching to labour market needs. 

Faculty Logo

“Paper Plane in a Diamond shape”

Meaning : Success shines like a
Diamond of Wisdom

Faculty Colour : Blue

[:en]

Choose a Language :